เวลาทำการ วันอาทิตย์ - วันพฤหัสบดี ◴ 8:00–16:00 น. สายด่วนคณบดี ✆ 073-418-611-13 ✉ grad@ftu.ac.th
History and Development of Graduate School
มหาวิทยาลัยฟาฏอนี เป็นมหาวิทยาลัยอิสลามเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย เริ่มเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในปีการศึกษา 2541 ต่อมาในปีการศึกษา 2544/2545 ได้เริ่มเปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา โดยมีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 50 คน โดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
ในปีการศึกษา 2545 มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้ง บัณฑิตวิทยาลัย เพื่อเป็นคณะที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุม กำกับ และดูแล การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา โดยแต่งตั้ง ดร.ญีฮาด บูงอตาหยง เป็นคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย ต่อมาในปีการศึกษา 2548 บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต 2 สาขาวิชาด้วยกันคือ 1.สาขาวิชาชะรีอะฮฺ 2.สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม โดยมี ดร.ดลวานะ ตาเยะ เป็นคณบดี เพื่อรับผิดชอบ ควบคุม กำกับและดูแลการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ในปีการศึกษา 2551 บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอาหรับและวรรณคดี และหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (การปกครอง) ต่อมาในปีการศึกษา 2553 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2553 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้อนุมัติให้รองศาสตราจารย์ ดร.มุฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ เป็นคณบดี เพื่อรับผิดชอบ ควบคุม กำกับและดูแลการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จนถึงปัจจุบัน
ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ในวันที่ 6 สิงหาคม 2555 ในคราวการประชุมครั้งที่ 5/2012 คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้อนุมัติให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานภายในหน่วยงาน โดยได้ยุบสำนักงานการวิจัยและเขียนตำราและโอนภารกิจงานวิจัยและการเขียนตำราให้กับบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมกับเห็นชอบปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก “บัณฑิตวิทยาลัย” เป็น “บัณฑิตวิทยาลัยและการวิจัย” ทั้งนี้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555 ในคราวการประชุมครั้งที่ 43 (2/2012) สภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้อนุมัติเห็นชอบข้อบังคับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ว่าด้วยการแบ่งส่วนงาน พ.ศ. 2555 โดยใช้ชื่อหน่วยงาน “บัณฑิตวิทยาลัยและการวิจัย” ในปีการศึกษา 2558 บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษารุ่นแรก
ในปีการศึกษา 2562 บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอาหรับ และหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้รุ่นแรกของหลักสูตร
ในปีการศึกษา 2563 บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษารุ่นแรกของหลักสูตร
และในปีการศึกษา 2565 บัณฑิตวิทยาลัย ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้รุ่นแรกของหลักสูตร
Philosophy
บัณฑิตวิทยาลัย เป็นหน่วยงานประสานงาน สนับสนุน ส่งเสริม และเสนอแนะการวิจัย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัย และเพื่อสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์สู่ความเป็นเลิศและมีมาตรฐาน สร้างทรัพยากรมนุษย์ตามแนวทางอิสลาม สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ประเทศชาติและภูมิภาค
will
มุ่งสู่การเป็นหน่วยงานการประสานงาน สนับสนุน ส่งเสริม และเสนอแนะงานวิจัย การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สอดคล้องกับแนวทางอิสลามอย่างมีประสิทธิภาพ
Vision
บัณฑิตวิทยาลัย เป็นหน่วยงานสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัย และกำกับมาตรฐาน เสริมสร้างการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่หลากหลายและเป็นมาตรฐานสากลพันธกิจบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อให้สามารถบรรลุตามกรอบวิสัยทัศน์ ที่กำหนดไว้ บัณฑิตวิทยาลัย จึงกำหนดพันธกิจหลักที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. วางแผน กำหนดนโยบาย และควบคุมการวิจัย และมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
2. ประสานงานการวิจัยและการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาตามนโยบายของสถาบัน
3. ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานวิจัยให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ๆ ภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
5. สนับสนุนให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจัดทำผลงานวิจัยตามหลักสูตร
6. สนับสนุน และส่งเสริมการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบัน
7. สนับสนุน และส่งเสริมการวิจัยของคณาจารย์
8. เผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานทางวิชาการสู่สังคม
Objectives
1. เพื่อประสานงาน สนับสนุน และอำนวยความสะดวก แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันเกี่ยวกับการวิจัย และการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
2. เพื่อส่งเสริมการวิจัย และการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นเลิศทางวิชาการและมีมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดการงานวิจัยให้เป็นระบบและทันสมัย
4. เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยของสถาบันในการเผยแพร่ผลงานสู่สังคม
5. เพื่อพัฒนาผลงานทางวิชาการของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สังคม